52010915104g4

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ภาวะโลกร้อน >> หมู่เกาะมัลดีฟส์


หมู่เกาะมัลดีฟส์ หรือชื่อเรียกเต็มๆว่า สาธารณรัฐมัลดีฟส์ (Republic of Maldives) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะมากมายกว่า 1,900 เกาะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศศรีลังกาและประเทศอินเดีย

มัลดีฟส์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก นักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติของเกาะที่สวยงาม ดำน้ำดูแนวปะการังและสัตว์น้ำที่มีอยู่มากมาย เกาะมัลดีฟส์ถือว่าเป็นเกาะสวรรค์ของทุกคนที่ไปเยือนเลยก็ว่าได้

แต่ภาวะโลกร้อนก็ทำให้เกาะสวรรค์แห่งนี้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก เมื่อผลการวัดระดับน้ำทะเลรอบๆเกาะตลอด 15 ปีที่ผ่านมานี้เพิ่มขึ้นถึง 4.5 เซนติเมตร คาดว่าระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 20-60 เซนติเมตรภายในสิ้นศตวรรษนี้ และเราจะพบพายุที่บริเวณเกาะมัลดีฟส์บ่อยขึ้น ซึ่งเหตุการณ์ที่ว่านี้จะส่งผลกระทบต่อประชากรของประเทศและนักท่องเที่ยวอย่างมากแน่นอน ประเทศมัลดีฟส์เป็นประเทศแรกที่ลงนามในพิธีสารเกียวโต (เป็นมาตรการทางกฎหมายที่ใช้ดำเนินการในการรับมือกับภาวะโลกร้อน)

อ้างอิง

http://www.greentheearth.info/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9F%E0%B8%AA%E0%B9%8C/

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประชาคมโลกตอบสนองต่อปัญหานี้อย่างไร


ในการประชุมภูมิอากาศโลกครั้งแรก (The First World Climate Conference) ซึ่งจัดขึ้นที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 12 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 นักวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก การประชุมครั้งนี้เน้นถึงเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ และเรียกร้องให้รัฐบาลของแต่ละประเทศให้ความสำคัญกับภูมิอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลงและป้องกันการกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งจะกลับมามีผลกระทบต่อมนุษย์เอง นอกจากนี้ยังได้วางแผนจัดตั้ง "แผนงานภูมิอากาศโลก" (World Climate Programme หรือ WCP) ภายใต้ความรับผิดชอบขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization หรือ WMO), โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme หรือ UNEP) และ International Council of Science Unions หรือ ICSU
หลังจาก พ.ศ. 2522 เป็นต้นมาได้มีการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอีกหลายครั้ง ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ The Villach Conference ประเทศออสเตรีย (9 - 15 ตุลาคม 2528), The Toronto Conference ประเทศแคนาดา (27 - 30 มิถุนายน พ.ศ.), The Ottawa Conference ประเทศแคนาดา (20 - 22 กุมภาพันธ์ 2532), The Tata Conference นิวเดลฮี ประเทศอินเดีย (21 - 23 กุมภาพันธ์ 2532), The Hague Conference and Declaration ประเทศเนเธอร์แลนด์ (11 มีนาคม 2532), The Noordwijk Ministerial Conference ประเทศเนเธอร์แลนด์ (6 - 7 พฤศจิกายน 2532), The Cairo Compact ประเทศอียิปต์ (ธันวาคม 2532) และ The Bergen Conference ประเทศนอรเวย์ (พฤษภาคม 2533) การประชุมเหล่านี้ช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากขึ้น ผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งผู้กำหนดนโยบายในหน่วยงานรัฐบาล นักวิทยาศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อม ได้พิจารณาประเด็นทั้งด้านวิทยาศาสตร์และนโยบาย และเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกร่วมมือดำเนินการเกี่ยวกับปัญหานี้
ปี พ.ศ. 2531 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ได้จัดตั้ง คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินข้อมูลข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจ-สังคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ตลอดจนผลกระทบ การปรับตัว และการบรรเทาปัญหาอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
พ.ศ. 2533 IPCC ได้เสนอรายงานการประเมินครั้งที่ 1 (The First Assessment Report) ซึ่งเน้นย้ำปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รายงานนี้มีผลอย่างมากต่อสาธารณชนและผู้กำหนดนโยบาย และเป็นพื้นฐานในการเจรจาอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ในเดือนธันวาคม 2533 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติมีมติให้เริ่มดำเนินการเจรจาข้อตกลง โดยตั้งคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลเพื่อจัดทำร่างอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmatal Nogotiating Committee for a Framework Convention on Climate Change หรือ INC/FCCC) ซึ่งได้มีการประชุมทั้งหมด 5 ครั้ง ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2534 - พฤษภาคม 2535 และเนื่องจากเส้นตายที่จะมีการประชุมสุดยอดของโลก (Earth Summit) หรือการประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development หรือ UNCED) ในเดือนมิถุนายน 2535 ผู้เจรจาจาก 150 ประเทศจึงจัดทำร่างอนุสัญญาฯ เสร็จสิ้น และยอมรับที่นิวยอร์ค เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2535
ในการประชุมสุดยอดของโลก เมื่อเดือนมิถุนายน 2535 ที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ตัวแทนรัฐบาล 154 รัฐบาล (รวมสหภาพยุโรป) ได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) โดยเป้าหมายสูงสุดของ UNFCCC คือ การรักษาระดับปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่อยู่ในระดับที่ไม่มีผลกระทบต่อระบบภูมิอาในการประชุมภูมิอากาศโลกครั้งแรก (The First World Climate Conference) ซึ่งจัดขึ้นที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 12 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 นักวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก การประชุมครั้งนี้เน้นถึงเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ และเรียกร้องให้รัฐบาลของแต่ละประเทศให้ความสำคัญกับภูมิอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลงและป้องกันการกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งจะกลับมามีผลกระทบต่อมนุษย์เอง นอกจากนี้ยังได้วางแผนจัดตั้ง "แผนงานภูมิอากาศโลก" (World Climate Programme หรือ WCP) ภายใต้ความรับผิดชอบขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization หรือ WMO), โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme หรือ UNEP) และ International Council of Science Unions หรือ ICSU
หลังจาก พ.ศ. 2522 เป็นต้นมาได้มีการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอีกหลายครั้ง ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ The Villach Conference ประเทศออสเตรีย (9 - 15 ตุลาคม 2528), The Toronto Conference ประเทศแคนาดา (27 - 30 มิถุนายน พ.ศ.), The Ottawa Conference ประเทศแคนาดา (20 - 22 กุมภาพันธ์ 2532), The Tata Conference นิวเดลฮี ประเทศอินเดีย (21 - 23 กุมภาพันธ์ 2532), The Hague Conference and Declaration ประเทศเนเธอร์แลนด์ (11 มีนาคม 2532), The Noordwijk Ministerial Conference ประเทศเนเธอร์แลนด์ (6 - 7 พฤศจิกายน 2532), The Cairo Compact ประเทศอียิปต์ (ธันวาคม 2532) และ The Bergen Conference ประเทศนอรเวย์ (พฤษภาคม 2533) การประชุมเหล่านี้ช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากขึ้น ผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งผู้กำหนดนโยบายในหน่วยงานรัฐบาล นักวิทยาศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อม ได้พิจารณาประเด็นทั้งด้านวิทยาศาสตร์และนโยบาย และเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกร่วมมือดำเนินการเกี่ยวกับปัญหานี้
ปี พ.ศ. 2531 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ได้จัดตั้ง คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินข้อมูลข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจ-สังคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ตลอดจนผลกระทบ การปรับตัว และการบรรเทาปัญหาอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
พ.ศ. 2533 IPCC ได้เสนอรายงานการประเมินครั้งที่ 1 (The First Assessment Report) ซึ่งเน้นย้ำปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รายงานนี้มีผลอย่างมากต่อสาธารณชนและผู้กำหนดนโยบาย และเป็นพื้นฐานในการเจรจาอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ในเดือนธันวาคม 2533 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติมีมติให้เริ่มดำเนินการเจรจาข้อตกลง โดยตั้งคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลเพื่อจัดทำร่างอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmatal Nogotiating Committee for a Framework Convention on Climate Change หรือ INC/FCCC) ซึ่งได้มีการประชุมทั้งหมด 5 ครั้ง ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2534 - พฤษภาคม 2535 และเนื่องจากเส้นตายที่จะมีการประชุมสุดยอดของโลก (Earth Summit) หรือการประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development หรือ UNCED) ในเดือนมิถุนายน 2535 ผู้เจรจาจาก 150 ประเทศจึงจัดทำร่างอนุสัญญาฯ เสร็จสิ้น และยอมรับที่นิวยอร์ค เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2535
ในการประชุมสุดยอดของโลก เมื่อเดือนมิถุนายน 2535 ที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ตัวแทนรัฐบาล 154 รัฐบาล (รวมสหภาพยุโรป) ได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) โดยเป้าหมายสูงสุดของ UNFCCC คือ การรักษาระดับปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่อยู่ในระดับที่ไม่มีผลกระทบต่อระบบภูมิอากาศ

อ้างอิง

http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=86#q8

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

โลกร้อนทำธารน้ำแข็งละลายหนัก ยอดเขา “ เอเวอเรสต์ ” อันตราย




ผลพวงจากภาวะโลกร้อนยังเดินหน้าทำลายพื้นที่หนาวเย็นต่อไป โดยล่าสุดสหประชาชาติอาจยกชื่อ “ยอดเขาเอเวอเรสต์” ในเทือกเขาหิมาลัยเข้าไปอยู่ในบัญชี “อันตราย”

โครงการ “มิตรของโลก” หรือ “เฟรนด์ส ออฟ ดิเอิร์ธ” (Friends of the Earth) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่อังกฤษ เปิดเผยว่า การละลายของหิมะ จนกลายเป็นกระแสธารน้ำแข็งบน “เอเวอเรสต์” ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก ในเทือกเขาหิมาลัย นอกจากจะมากพอจนเกือบสร้างทะเลสาบหิมาลัยได้แล้ว อาจจะสร้างน้ำท่วมบ่าเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และทำลายสิ่งแวดล้อมอันเป็นลักษณะเฉพาะของธรรมชาติแถบนั้น

อย่างไรก็ดี ทางกลุ่มมิตรโลกจะอ้อนวอนให้คณะกรรมการมรดกโลก ยูเนสโกแห่งสหประชาชาติ (U.N.'s World Heritage Committee) ในปารีส พร้อมด้วยนักปีนเขาผู้พิชิตยอดสูงสุดของเอเวอเรสต์ เช่น ไรน์โฮลด์ มาสเนอร์ (Reinhold Messner) ให้ช่วยกันสังเกตการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

”ยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นสัญลักษณ์อันทรงพลังแห่งธรรมชาติของโลก ไม่ใช่แค่เพียงในเนปาล แต่ถ้าเอเวอเรสต์ถูกทำร้ายด้วยภาวะโลกร้อน พวกเราก็จะเริ่มตระหนักทันทีว่านี่เป็นสถานการณ์ที่อันตรายต่อชีวิตเป็นอย่างยิ่ง” ปรากาช ชาร์มา (Prakash Sharma) ผู้อำนวยการโครงการมิตรของโลกในเนปาลเผย
สถานการณ์โลกร้อนกำลังหนักขึ้นทุกขณะ หลังจากมีปริมาณก๊าซต่างๆ แพร่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น โดยเฉพาะ “คาร์บอน ไดออกไซด์” ตัวการหลักในการทำร้ายสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ซึ่งการละลายของธารน้ำแข็งเป็นสัญญาณแรกๆ ที่บอกแก่ชาวโลกว่ากาลอากาศเริ่มเปลี่ยน โดยอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ

ทางด้าน เพมบา ดอร์เจ เชอร์ปา (Pemba Dorje Sherpa) ผู้ซึ่งใช้เวลาน้อยที่สุดในการปีสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์ เปิดเผยว่า หิมะและน้ำแข็งที่เกาะอยู่ตามแนวเขาลดน้อยลงทุกขณะ ซึ่งทำให้เอเวอเรสต์มีความงามทางธรรมชาติลดลง และถ้าสิ่งเหล่านี้หมดไป ก็จะไม่เหลืออะไรไว้ให้เด็กๆ ของเราอีกต่อไป




ที่มา
http://sanluck.igetweb.com/articles/198794/%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81-%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2-%E2%80%9C-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%8C-%E2%80%9D-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555


คำขวัญเกี่ยวกับการประหยัดน้ำประหยัดไฟ

คำขวัญลดโลกร้อน

ลดโลกร้อน เราทุกคนพึงตระหนัก ก่อนอื่นจักต้องลด การใช้ไฟ
อุณหะภูมิคือต้นตอ ของเภภัย ขอชาวไทยโปรดพินิจ ด้วยจิตดี

กินอย่างไรช่วยลดภาวะโลกร้อน


วันนี้ผมมีวิธีการเลือกอาหารการกินแบบที่สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้มาฝากกันครับ การช่วยลดภาวะโลกร้อนไม่ได้ยากอยากที่คิดเลยครับ แม่กระทั่งการเลือกซื้ออาหารที่ถูกต้องเหมาะสม ก็สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้แล้ว
อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยในการดำรงค์ชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญต่อเรา คนเราปกติแล้วกินอาหารทุกวัน ถ้าเรารู้วิธีที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ โดยการเลือกซื้ออาหารในแบบที่ถูกต้องแล้ว ผมคิดว่าคงจะช่วยโลกได้พอสมควรเลยทีเดียวครับ ทีนี้เรามาดูกันว่าเลือกซื้ออาหารอย่างไรถึงจะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้
ซื้อของสดที่ตลาดใกล้บ้าน ถ้าใกล้ๆบ้านของท่านมีตลาดสดอยู่ ก็ควรที่จะซื้ออาหารหรือของทำกับข้าวที่นั่น เพราะว่าถ้าเทียบกับการซื้อกับข้าวหรือของสดภายในห้าง ที่มีการแพ็คเกจจิ้งอย่างฟุ่มเฟือย ทั้งถาดโฟม ห่อพลาสติค กล่องกระดาษ แล้วนั้น การซื้อของจากตลาดสดจะมีผลดีต่อโลกมากกว่า แล้วก็อย่าลืมเอาถุงผ้าหรือตะกร้าของเราไปจ่ายตลาดด้วยนะครับ
แวะซื้อของหรือกับข้าวหลังจากเลิกงานหรือไปธุระ ถ้าในทางผ่านของเรามีตลาดสด หรือร้านขายกับข้าว ก็ควรจะแวะซื้อไปเลย จะได้ไม่เปลืองค่าน้ำมันรถ แล้วยิ่งตอนนี้น้ำมันแพงแล้วด้วย นอกจากช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ ยังจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของเราไปอีกทางหนึ่งด้วย
ซื้อผักผลไม้ตามฤดูกาล ที่ปลูกภายในประเทศ แล้วถ้ายิ่งเป็นผักปลอดสารพิษนั้นยิ่งน่าอุดหนุน เพราะการใช้ยาฆ่าแมลงนั้น นอกจากจะทำให้เกิดสารพิษทำร้ายโลกแล้ว ยังจะเป็นอันตรายต่อเราอีกด้วย และการเลือกซื้อผลไม้ที่ปลูกในประทศเรานั้น นอกจากจะช่วยสนับสนุนเกษตรกรไทยแล้วนั้น ยังจะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่งข้ามประเทศ ลดพลังงานจากการต้องแช่แข็ง แถมเรายังได้กินของที่สดกว่าด้วย
ลดการกินอาหารแช่แข็ง อาหารแช่แข็งเป็นอาหารที่แทบจะใช้พลังงานสิ้นเปลืองในทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นกล่องพลาสติกที่ใส่ การขนส่ง แล้วยังจะต้องแช่เย็นไว้ตลอดเวลา แถมตอนจะกินยังต้องใช้ไมโครเวฟอุ่นอีก ดังนั้นถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรจะกินอาหารแช่แข็ง
ลดกินเนื้อวัว อุตสาหกรรมเนื้อวัวนั้นสร้างก๊าซเรือนกระจกสูง ไม่ว่าจะเป็นก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์, ก๊าซมีเทนที่ออกมาจากมูลและการเรอของวัว เพื่อนๆสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อวัวได้ที่นี่ครับ กินเนื้อทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
ถ้าเพื่อนๆสามารถทำแบบนี้ได้ทั้งหมด หรือว่าซัก 2-3 ข้อก็ยังดีนะครับ แค่นั้นก็จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้แล้ว

อ้างอิง

ภาวะโลกร้อน กับ โรงเรียน



ผลพวงจากภาวะโลกร้อนยังเดินหน้าทำลายพื้นที่หนาวเย็นต่อไป โดยล่าสุดสหประชาชาติอาจยกชื่อ “ยอดเขาเอเวอเรสต์” ในเทือกเขาหิมาลัยเข้าไปอยู่ในบัญชี “อันตราย”


โครงการ “มิตรของโลก” หรือ “เฟรนด์ส ออฟ ดิเอิร์ธ” (Friends of the Earth) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่อังกฤษ เปิดเผยว่า การละลายของหิมะ จนกลายเป็นกระแสธารน้ำแข็งบน “เอเวอเรสต์” ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก ในเทือกเขาหิมาลัย นอกจากจะมากพอจนเกือบสร้างทะเลสาบหิมาลัยได้แล้ว อาจจะสร้างน้ำท่วมบ่าเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และทำลายสิ่งแวดล้อมอันเป็นลักษณะเฉพาะของธรรมชาติแถบนั้น


อย่างไรก็ดี ทางกลุ่มมิตรโลกจะอ้อนวอนให้คณะกรรมการมรดกโลก ยูเนสโกแห่งสหประชาชาติ (U.N.'s World Heritage Committee) ในปารีส พร้อมด้วยนักปีนเขาผู้พิชิตยอดสูงสุดของเอเวอเรสต์ เช่น ไรน์โฮลด์ มาสเนอร์ (Reinhold Messner) ให้ช่วยกันสังเกตการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น


”ยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นสัญลักษณ์อันทรงพลังแห่งธรรมชาติของโลก ไม่ใช่แค่เพียงในเนปาล แต่ถ้าเอเวอเรสต์ถูกทำร้ายด้วยภาวะโลกร้อน พวกเราก็จะเริ่มตระหนักทันทีว่านี่เป็นสถานการณ์ที่อันตรายต่อชีวิตเป็นอย่างยิ่ง” ปรากาช ชาร์มา (Prakash Sharma) ผู้อำนวยการโครงการมิตรของโลกในเนปาลเผย

สถานการณ์โลกร้อนกำลังหนักขึ้นทุกขณะ หลังจากมีปริมาณก๊าซต่างๆ แพร่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น โดยเฉพาะ “คาร์บอน ไดออกไซด์” ตัวการหลักในการทำร้ายสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ซึ่งการละลายของธารน้ำแข็งเป็นสัญญาณแรกๆ ที่บอกแก่ชาวโลกว่ากาลอากาศเริ่มเปลี่ยน โดยอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ


ทางด้าน เพมบา ดอร์เจ เชอร์ปา (Pemba Dorje Sherpa) ผู้ซึ่งใช้เวลาน้อยที่สุดในการปีสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์ เปิดเผยว่า หิมะและน้ำแข็งที่เกาะอยู่ตามแนวเขาลดน้อยลงทุกขณะ ซึ่งทำให้เอเวอเรสต์มีความงามทางธรรมชาติลดลง และถ้าสิ่งเหล่านี้หมดไป ก็จะไม่เหลืออะไรไว้ให้เด็กๆ ของเราอีกต่อไป

อ้างอิง

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ทำไมแกนโลกจึงเอียง

การหมุนของโลก




ผลพวงจากภาวะโลกร้อนยังเดินหน้าทำลายพื้นที่หนาวเย็นต่อไป โดยล่าสุดสหประชาชาติอาจยกชื่อ “ยอดเขาเอเวอเรสต์” ในเทือกเขาหิมาลัยเข้าไปอยู่ในบัญชี “อันตราย”

โครงการ “มิตรของโลก” หรือ “เฟรนด์ส ออฟ ดิเอิร์ธ” (Friends of the Earth) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่อังกฤษ เปิดเผยว่า การละลายของหิมะ จนกลายเป็นกระแสธารน้ำแข็งบน “เอเวอเรสต์” ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก ในเทือกเขาหิมาลัย นอกจากจะมากพอจนเกือบสร้างทะเลสาบหิมาลัยได้แล้ว อาจจะสร้างน้ำท่วมบ่าเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และทำลายสิ่งแวดล้อมอันเป็นลักษณะเฉพาะของธรรมชาติแถบนั้น

อย่างไรก็ดี ทางกลุ่มมิตรโลกจะอ้อนวอนให้คณะกรรมการมรดกโลก ยูเนสโกแห่งสหประชาชาติ (U.N.'s World Heritage Committee) ในปารีส พร้อมด้วยนักปีนเขาผู้พิชิตยอดสูงสุดของเอเวอเรสต์ เช่น ไรน์โฮลด์ มาสเนอร์ (Reinhold Messner) ให้ช่วยกันสังเกตการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

”ยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นสัญลักษณ์อันทรงพลังแห่งธรรมชาติของโลก ไม่ใช่แค่เพียงในเนปาล แต่ถ้าเอเวอเรสต์ถูกทำร้ายด้วยภาวะโลกร้อน พวกเราก็จะเริ่มตระหนักทันทีว่านี่เป็นสถานการณ์ที่อันตรายต่อชีวิตเป็นอย่างยิ่ง” ปรากาช ชาร์มา (Prakash Sharma) ผู้อำนวยการโครงการมิตรของโลกในเนปาลเผย
สถานการณ์โลกร้อนกำลังหนักขึ้นทุกขณะ หลังจากมีปริมาณก๊าซต่างๆ แพร่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น โดยเฉพาะ “คาร์บอน ไดออกไซด์” ตัวการหลักในการทำร้ายสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ซึ่งการละลายของธารน้ำแข็งเป็นสัญญาณแรกๆ ที่บอกแก่ชาวโลกว่ากาลอากาศเริ่มเปลี่ยน โดยอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ

ทางด้าน เพมบา ดอร์เจ เชอร์ปา (Pemba Dorje Sherpa) ผู้ซึ่งใช้เวลาน้อยที่สุดในการปีสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์ เปิดเผยว่า หิมะและน้ำแข็งที่เกาะอยู่ตามแนวเขาลดน้อยลงทุกขณะ ซึ่งทำให้เอเวอเรสต์มีความงามทางธรรมชาติลดลง และถ้าสิ่งเหล่านี้หมดไป ก็จะไม่เหลืออะไรไว้ให้เด็กๆ ของเราอีกต่อไป